Teerasak Longji, Executed On 18/6/2018 In Thailand May Be A Miscarriage Of Justice Arising out of Police Failings
Abolish the Death Penalty -
We, the 74 undersigned groups and organisations, are appalled by the recent ‘secret’ execution of Teerasak Longji by Thailand, the first execution since 24 August 2009 (Bangkok Post, 18/6/2016). Given recent facts that have been reported in the media, miscarriage of justice is a very real possibility.
Thailand had observed a de facto moratorium since 2009, and in about a year or so it would have been over 10 years, and Thailand would thereafter have been considered an abolitionist state in practice.
26-year-old Teerasak Longji was executed at Bangkok’s Bang Kwang Central Prison by lethal injection for aggravated murder. He was accused and convicted of stabbing Danudet Sookmak ,a 17-year-old high school student, 24 times before stealing his smartphone and wallet in July 2012. Teerasak had always maintained his innocence, and never confessed.
There are now serious concerns that Teerasak Longji may have been wrongly executed, just like the case of Chiang Kuo-ching, who was executed in Taiwan in 1997 after being convicted of sexually abusing and murdering a five-year-old girl. In 2011, Taiwan’s Ministry of Justice admitted that Chiang had been executed in error.
“No criminal justice system is perfect. You take a man’s life and years later, you find out that another person did the crime. What can you do?” - Datuk Seri Nazri Abdul Aziz, the then Minister in the Malaysian Prime Minister’s Department.
Miscarriage of Justice
There are now questions about the investigation and prosecution in this case.
There is also the possibility of cover-up and ‘corruption’ given the fact that the police admitted that another suspect is still at large, which makes this execution of Teerasak, a possible ‘material witness’ on 18/6/2018 before all other perpetrators of the crime are arrested and brought to justice questionable. Other suspects, when arrested could also prove that Teerasak was not even guilty. Further, another witness have also emerged, who allegedly can confirm that Teerasak was innocent.
POLICE INVESTIGATIONS AND PROSECUTION QUESTIONABLE?
In a media report (Khaosod English,22/6/2018), it was stated, ‘The victim’s parents said they urged police years ago to look for another perpetrator, but they claim investigators were dismissive, telling them to gather witnesses and evidence themselves.’ Recently, the police did confirm that there was indeed another alleged perpetrator.
The police had on Wednesday(20/6/2018) stated that they are looking for another suspect...“We’re keeping up the investigation to bring in another perpetrator,” Prasert [Lt. Col Prasert Songsaeng, who’s in charge of the case ]said on Friday(22/6/2018). (Khaosod English, 22/6/2018). Lt. Col Prasert was also reported stating that Teerasak had never confessed.
The attitude and conduct of the Thai police in this case certainly is questionable. It is the duty of the police to conduct a thorough investigation, leaving no stone unturned in its quest for the truth to ensure that the correct perpetrator of the crime is brought to justice.
As such, the conduct of Lt. Col Prasert Songsaeng and the officers in charge of the investigation and prosecution is disappointing. For the police to even suggest to Teerasak’s parents to ‘gather evidence’ themselves when it is the police duty to investigate was most unprofessional.
It was also stated in the media report that, ‘…According to Prasert, police were able to obtain an arrest warrant for Teerasak, who had several drug- and weapons-related crimes on his record, within a day of the murder based on strong witness statements. They captured him the next day. He added that Teerasak has never confessed….’
This raises a doubt about whether the police and the prosecution conducted a proper investigation in this case. Did the police and prosecutors have a "tunnel vision" mentality that kept them from pursuing the real perpetrators of the crime? Were they closed to the possibility of other suspects, and simply focused on their belief that Teerasak was the guilty person – not even bothering to find the other alleged perpetrator, or the possibility that some other, not even Teerasak, committed the crime? Such ‘tunnel vision’ on the part of police and prosecutors has been proven to have caused serious miscarriage of justice – even the death of innocent persons.
The fact that a person had a past criminal record really does not mean that he committed a new crime. Past convictions may have a bearing on sentencing, but it should never ever influence the police in their investigation into a particular new crime. Jumping to conclusions, and shutting out other possibilities, is most dangerous, and it may lead to an innocent person being punished, or even deprived of life.
Justice Was Not Done In Teerasak’s Execution
Doubts have arisen as to the guilt of Teerasak’s with the emergence of an alleged witness, which was reported in the media, ‘…The witness’s claim emerged yesterday online. In it he said that he and another friend saw two other teenagers repeatedly stab another teen while he was riding a motorbike past the scene. He stopped to see what was happening and had to flee the perpetrators. He said Teerasak, whom he was familiar with, was not present at the time. Then he saw Teerasak riding toward the scene on a motorbike from the opposite direction and warned him not to continue…’ (Khaosod English, 22/6/2018)
Even if Teerasak was guilty, reasonably he would be a material witness, when he comes to the prosecuting of others who were also involved in the killing. The execution of a possible material witness, before any or all others are arrested, charged and tried would certainly not result in justice for the victim if the real perpetrators get off scot free for the lack of Teerasak’s evidence. Doubts arise whether Teerasak was suddenly executed for some ulterior motive of protecting other perpetrators.
Family Not Notified of Teerasak’s Execution
It was reported that the younger sister of Teerasak, Kanita Longji, 20, said ‘…that the family was not told he would be put to death until after it was carried out…”I don’t understand and there was no advanced notification that he would be executed…In reality, family members should be notified if an execution is to be carried out…so that relatives can bid farewell.” Kanita said that the family was planning to visit him on Tuesday because her brother had recently sent a letter asking for 2,000 Baht…’(Khaosod English, 19/6/2018)
This is most draconian when family and loved one’s of persons about to be executed are not even given the opportunity the spend some time together before execution. Such ‘secret’ executions, also denies the possibility of any last attempts to prevent the death of persons on death row.
In this case, when fact of the death was revealed in the media, it has prompted a witness to emerge who could have proven Teerasak’s innocence. Now, if information of the upcoming execution had appeared in media earlier, Teerasak may not have been executed by reason of this new witness. The failure of the police to find this witness, while they were investigating the crime is also indicative of incompetence or a lackadaisical attitude in the conduct of criminal investigation.
Therefore, we
Call on the Thailand to immediately review the case of Teerasak Longji, who was executed on 18/6/2018 to determine whether there was a miscarriage of justice, and if so, to immediately apologize to the Teerasak Longji’s family;
Call of the National Human Rights Commission of Thailand and the government of Thailand to forthwith conduct an inquiry on the police investigation conducted by Lt. Col Prasert Songsaeng and the police team on the killing of Danudet Sookmak in July 2012, that led to prosecution and ultimate execution of Teerasak Longji.
Call on Thailand to take action on police and enforcement personnel involved in investigations of crime, who failed to conduct their investigation professionally, competently and in a corruption-free manner, that can result in miscarriage of justice;
Call on Thailand to immediately impose a moratorium on executions, and to abolish the death penalty in Thailand
Charles Hector
Selma James
Nina Lopez
For and on behalf of the 74 organisations/groups listed below
ALIRAN, Malaysia
Australians Against Capital Punishment (AACP)
Association of Human Rights Defenders and Promoters- HRDP, Myanmmar
ATRAHDOM Guatemala
Banglar Manabadhikar Suraksha Mancha (MASUM), India
Brandywine Peace Community
Catholic Mobilizing Network, US
CAW (Committee for Asian Women)
Center for Orang Asli Concerns(COAC), Malaysia
Center for Prisoners' Rights, Japan
Christian Development Alternative (CDA), Bangladesh
CRCF -Cross Cultural Foundation, Thailand
Democratic Commission for Human Development, Pakistan
ECPM (Together against the Death Penalty [Ensemble contre la peine de mort]), France
End Solitary Santa Cruz County, CA, USA
Farmworker Association of Florida, Inc.
FIDU - Federazione Italiana Diritti Umani(Italian Federation for Human Rights)
German Coalition to Abolish the Death Penalty (GCADP)
Global Women’s Strike, UK
Global Women’s Strike, USA
GoodElectronics Thailand
Haiti Action Committee
Hands off Cain
Health and Opportunity Network (HON), Thailand
Hearty Support Group ,Thailand
Human Rights Coalition
Human Rights Coalition, Philadelphia, USA
HRC Fed Up Pittsburgh, USA
Human Rights and Democracy Media Center "SHAMS", Palestine
IDEAL( Institute for Development of Alternative Living), Malaysia
Imparsial The Indonesian Human Right Monitor
International Concerned Family and Friends of Mumia Abu-Jamal
Legal Action for Women, United Kingdom
Legal Awareness Watch(LAW), Pakistan
Let’s Get Free/Pittsburgh
MADPET(Malaysians Against Death Penalty and Torture)
Malaysian Physicians for Social Responsibility.(MPSR)
Manushya Foundation, Thailand
MAP Foundation (Thailand)
Margaret Prescod, Pacifica Radio host
Marvi Rural Development Organization- MRDO, Pakistan
Migrant Care, Indonesia
MLK Coalition of Greater Los Angeles, USA
Mumia Abu-Jamal
National Union of Transport Equipment & Allied Industries Workers (NUTEAIW)
North South Initiative
Odhikar, Bangladesh
Parti Rakyat Malaysia(PRM)
Payday – USA
Payday Men’s Network
People's Empowerment Foundation (PEF), Thailand
Persatuan Komuniti Prihatin Selangor, KL & Perak (Malaysia)
Programme Against Custodial Torture and Impunity (PACTI), India
Raging Grannies
Rescue Alternatives Liberia (RAL)
Sikhoraphum Youth Group ,Thailand
Singapore Anti Death Penalty Campaign (SADPC)
Step Ahead Foundation, Thailand
TEA Togetherness for Equality and Action, Thailand
Tenaganita, Malaysia
Teoh Beng Hock trust for Democracy
The Duay Jai (Hearty Support) Group, Thailand
The Julian Wagner Memorial Fund (JWMF), Australia
The MOVE Organization (Family Africa)
The Sunny Center Foundation, New York
Think Centre, Singapore
Topanga Peace Alliance, USA
UCL - Union for Civil liberty, Thailand
Witness to Innocence
Women in Media,
Women of Color, UK
Women of Color, USA
Workers Assistance Center, Inc., Philippines
Workers Hub For Change(WH4C)
Thai version of statement
การประหารชีวิตทวีศักดิ์ หลงจิเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ในประเทศไทย อาจเป็นความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม อันเกิดจากข้อบกพร่องของตำรวจ
- ยกเลิกโทษประหาร -
พวกเราซึ่งเป็นกลุ่มและองค์กรที่มีรายนามด้านล่างเสียใจอย่างยิ่งกับการประหารชีวิตทวีศักดิ์ หลงจิ ที่เกิดขึ้น “อย่างเป็นความลับ" เมื่อเร็ว ๆ นี้ นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 (Bangkok Post, 18/6/2559) และจากการพิจารณารายงานของสื่อมวลชนเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ได้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พักการประหารชีวิตในทางปฏิบัติมานับแต่ปี 2552 และในเวลาอีกประมาณหนึ่งปีเมื่อไม่ได้มีการประหารชีวิตเกินกว่า 10 ปี ประเทศไทยย่อมมีสถานะเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัติ
ทวีศักดิ์ หลงจิ อายุ 26 ปี ถูกประหารที่เรือนจำกลางบางขวาง กรุงเทพฯ ด้วยการฉีดยาในข้อหาฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ เขาถูกกล่าวหาและถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานใช้มีดจ้วงแทงดนุเดช สุขมาก นักเรียนมัธยมวัย 17 ปี ถึง 24 ครั้ง ก่อนจะขโมยสมาร์ทโฟนและกระเป๋าสตางค์ของเขาไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ทวีศักดิ์ยืนยันมาตลอดว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่เคยรับสารภาพ
ในปัจจุบันได้เกิดข้อกังวลอย่างจริงจังว่า ทวีศักดิ์ หลงจิอาจถูกประหารจากกระบวนการที่ผิดพลาดเช่นเดียวกับกรณีของเจียงเกาจิง ที่ถูกประหารในไต้หวันเมื่อปี 2540 ในข้อหาละเมิดทางเพศและสังหารเด็กผู้หญิงอายุห้าขวบ ในปี 2554 กระทรวงยุติธรรมของไต้หวันยอมรับว่าการประหารชีวิตเจียงเกิดจากกระบวนการที่ผิดพลาด
“ไม่มีระบบยุติธรรมทางอาญาใดที่สมบูรณ์พร้อม ถ้าเราประหารชีวิตบุคคล และอีกหลายปีต่อมา เราพบว่าคนร้ายเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะทำอย่างไรล่ะ?” ดาโต๊ะเสรี นาซรี อับดุล อาซิซ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียในขณะนั้น
ความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม
ในปัจจุบันมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการสอบสวนและการดำเนินคดีนี้
ทั้งยังมีความเป็นไปได้ว่าเกิดการปกปิดความจริงและ “การทุจริต” ขึ้นเนื่องจากตำรวจยอมรับว่ายังจับตัวคนร้ายอีกคนหนึ่งไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยต่อ “พยานสำคัญ” ที่ใช้เป็นหลักฐานในการประหารชีวิตทวีศักดิ์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ก่อนจะมีการจับกุมคนร้ายในคดีนี้ได้ทั้งหมดและถูกนำมาไต่สวน หากมีการจับกุมผู้ต้องสงสัยคนอื่นได้ อาจนำมาสู่ข้อพิสูจน์ว่า ทวีศักดิ์ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด นอกจากนั้นพยานอีกคนหนึ่งยังปรากฏตัว และยืนยันว่าทวีศักดิ์เป็นผู้บริสุทธิ์
การสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจและการดำเนินคดีควรถูกตั้งคำถามหรือไม่?
รายงานของสื่อ (Khaosod English,22/6/2018) ระบุว่า “พ่อแม่ของผู้ตายบอกว่า พวกเขาได้เรียกร้องตำรวจมาเป็นเวลาหลายปีให้ตามหาตัวคนร้ายอีกคนหนึ่ง แต่พ่อแม่บอกว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้ให้ความใส่ใจ และบอกให้ทางครอบครัวไปรวบรวมพยานหลักฐานเอาเอง” เมื่อเร็ว ๆ นี้ตำรวจยืนยันเองว่ายังมีคนร้ายอีกคนหนึ่ง
ตำรวจได้แถลงเมื่อวันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 ว่ากำลังอยู่ระหว่างการติดตามตัวผู้ต้องสงสัยอีกคนหนึ่ง “เรายังคงสอบสวนเรื่องนี้ต่อไปเพื่อจับตัวคนร้ายอีกคนหนึ่ง” พ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสง ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 (Khaosod English, 22/6/2018) มีรายงานว่าพ.ต.ท.ประเสริฐระบุว่าทวีศักดิ์ไม่เคยให้การรับสารภาพ
ทัศนคติและการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจไทยในคดีนี้ ย่อมถูกตั้งคำถามอย่างแน่นอน ตำรวจมีหน้าที่อำนวยการให้เกิดการสืบสวนสอบสวนอย่างรอบด้าน โดยไม่ให้เกิดข้อสงสัยใด ๆ ในการค้นหาความจริง เพื่อประกันว่าจะมีการนำตัวคนร้ายที่แท้จริงเข้าสู่กระบวนการไต่สวน
ด้วยเหตุดังกล่าว พฤติการณ์ของพ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสงและเจ้าพนักงานซึ่งทำหน้าที่สอบสวนและฟ้องคดีนี้ ทำให้เราผิดหวัง ถึงขั้นที่ตำรวจบอกให้พ่อแม่ของผู้ตายไป “รวบรวมพยานหลักฐานเอาเอง” ทั้ง ๆ ที่เป็นหน้าที่ในการสอบสวนของตำรวจ ถือเป็นการกระทำอย่างไม่เป็นมืออาชีพ
ยังมีรายงานในสื่ออีกด้วยว่า “...จากข้อมูลของพ.ต.ท.ประเสริฐ ตำรวจสามารถขอหมายจับจากศาลเพื่อจับกุมทวีศักดิ์ ซึ่งเคยมีประวัติกระทำความผิดด้านยาเสพติดและอาวุธหลายกรณี โดยสามารถออกหมายจับได้เพียงหนึ่งวันหลังการฆาตกรรม โดยใช้ปากคำของพยานที่หนักแน่น และตำรวจได้จับกุมเขาในวันต่อมา ตำรวจบอกด้วยว่าทวีศักดิ์ไม่เคยให้การรับสารภาพ...”
ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตำรวจและพนักงานอัยการ ดำเนินการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ตำรวจและอัยการติดอยู่ในกรอบความคิดแคบ ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามตัวคนร้ายที่แท้จริงในคดีนี้ใช่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่ตำรวจปิดกั้นโอกาสในการสอบสวนผู้ต้องสงสัยรายอื่น และกลับให้ความสำคัญตามความเชื่ออย่างจริงจังว่าทวีศักดิ์เป็นคนร้าย โดยไม่ใส่ใจจะติดตามตัวผู้ต้องสงสัยอีกคนหนึ่ง หรือโดยไม่คำนึงว่ามีความเป็นไปได้ที่คนอื่นนอกจากทวีศักดิ์จะเป็นคนร้ายในคดีนี้? กรอบคิดที่คับแคบเช่นนี้ของตำรวจและพนักงานอัยการ เป็นสิ่งที่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรมในหลายกรณีมาแล้ว ทั้งยังเป็นเหตุให้ผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิต
การที่บุคคลเคยมีประวัติกระทำความผิดไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะกระทำความผิดครั้งใหม่ ประวัติการถูกตัดสินลงโทษอาจมีผลในการกำหนดโทษ แต่ไม่ควรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสืบสวนสอบสวนของเจ้าพนักงานต่อความผิดที่เกิดขึ้นใหม่ การด่วนสรุปและการปิดกั้นโอกาสอย่างอื่นเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมากสุด โดยอาจส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกลงโทษ หรืออาจต้องสูญเสียชีวิต
การประหารชีวิตทวีศักดิ์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ได้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความผิดของทวีศักดิ์ เนื่องจากพยานใหม่ให้ความเห็นตามรายงานของสื่อว่า “...พยานได้ให้ความเห็นทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าเขากับเพื่อนอีกคนหนึ่งเห็นวัยรุ่นอีกสองคนจ้วงแทงวัยรุ่นอีกคนหนึ่งอย่างไม่ยั้ง ระหว่างที่เขาขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านจุดเกิดเหตุ เขาได้จอดรถเพื่อหยุดดูสิ่งที่เกิดขึ้น และต้องหลบหนีจากคนร้าย เขาบอกว่าทวีศักดิ์ซึ่งเป็นคนที่เขารู้จักไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุในขณะนั้น ต่อมาเขาเห็นทวีศักดิ์กำลังขี่มอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้ามาบริเวณที่เกิดเหตุจากทิศทางในตรงข้าม เขายังเตือนให้ทวีศักดิ์อย่าเข้าไปข้างใน...” (Khaosod English, 22/6/2018)
แม้ว่าทวีศักดิ์มีความผิดจริง ย่อมถือได้ว่าเขาเป็นพยานสำคัญในคดีนี้ กรณีที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสังหารครั้งนี้ การประหารชีวิตพยานสำคัญที่เหลืออยู่เช่นนี้ ก่อนจะมีการจับกุม ตั้งข้อหาและไต่สวนผู้ต้องสงสัยคนอื่น ย่อมไม่ส่งผลให้ผู้ตายได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากคนร้ายตัวจริงอาจลอยนวลพ้นผิด เนื่องจากเจ้าพนักงานไม่สามารถอ้างอิงปากคำของทวีศักดิ์เป็นหลักฐานได้แล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยต่อการเร่งรีบประหารชีวิตทวีศักดิ์ว่า อาจมีแรงจูงใจอย่างอื่นเพื่อปกป้องคนร้ายคนอื่น
ครอบครัวไม่ได้รับแจ้งเกี่ยวกับการประหารชีวิตทวีศักดิ์
มีรายงานว่า ขนิษตา หลงจิ อายุ 20 ปีน้องสาวของทวีศักดิ์บอกว่า ‘...ทางครอบครัวไม่ได้รับแจ้งก่อนจะมีการประหารชีวิตทวีศักดิ์จนกระทั่งหลังจากการประหารชีวิตเกิดขึ้นแล้ว...”หนูไม่เข้าใจ ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเลยว่าพี่จะถูกประหาร...ในความเป็นจริง ทางครอบครัวควรได้รับแจ้งก่อนจะมีการประหารชีวิต...เพื่อให้ญาติสามารถล่ำลาผู้ที่จะถูกประหารได้”” ขนิษตาบอกว่า ทางครอบครัววางแผนจะไปเยี่ยมเขาในวันอังคาร เนื่องจากเมื่อเร็ว ๆ นี้พี่ชายเขียนจดหมายมาขอเงิน 2,000 บาท’ (Khaosod English, 19/6/2018)
ถือเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เกรงกลัวใคร โดยครอบครัวและบุคคลผู้ใกล้ชิดกับผู้ที่กำลังจะถูกประหาร ไม่ได้รับโอกาสที่จะมีเวลาอยู่ร่วมกันก่อนการประหารชีวิต การประหารชีวิต ‘แบบลับ’ เช่นนี้ยังขัดขวางไม่ให้สามารถดำเนินการในขั้นสุดท้ายใด ๆ เพื่อป้องกันความตายของนักโทษประหารได้
ในกรณีนี้ เมื่อมีการเปิดเผยรายละเอียดเสียชีวิตต่อสื่อมวลชน ได้ส่งผลให้พยานออกมาให้ปากคำยืนยันความบริสุทธิ์ของทวีศักดิ์ ซึ่งหากทางการเปิดเผยข้อมูลว่าจะมีการประหารชีวิตก่อนหน้านี้ ทวีศักดิ์อาจไม่ถูกประหารก็ได้ เนื่องจากมีพยานใหม่ปรากฏตัวขึ้น ข้อบกพร่องของตำรวจในการสอบปากคำพยานคนนี้ ในระหว่างการสอบสวนคดี เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการไร้ความสามารถ หรือท่าทีที่เฉื่อยชาในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา
เราจึง
เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ทบทวนกรณีของทวีศักดิ์ หลงจิซึ่งถูกประหารในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 โดยทันที เพื่อวินิจฉัยว่าได้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรมขึ้นหรือไม่ และถ้ามี ให้มีการขอโทษต่อครอบครัวของทวีศักดิ์โดยทันที
เรียกร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและรัฐบาลไทย ให้สอบสวนโดยทันทีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจโดยพ.ต.ท.ประเสริฐ สงแสงและทีมงานที่ทำคดีการสังหารดนุเดช สุขมาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 เนื่องจากส่งผลให้เกิดการประหารชีวิตทวีศักดิ์ หลงจิ
เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญา ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นมืออาชีพ เต็มความสามารถ และไม่ปลอดจากการทุจริต ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดพลาดด้านกระบวนการยุติธรรม
เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการพักการประหารชีวิตและยกเลิกโทษประหารในประเทศไทยโดยทันที