Thursday, June 18, 2009

Death Penalty Does Not Deter Murder

โทษประหารชีวิตไม่สามารถยับยั้งอาชญากรรม
โทษประหารชีวิตไม่สามารถยับยั้งอาขญา¬กรรม-จากข้อมูลการศึกษาของมหาวิทยาลัย Colorado at Boulder

88%ของนักอาชญาวิทยาชั้นนําชองประเทศไม่เชื่อว่าโทษประหารชีวิตนั้นจะสามารถยับยั้งฆาตกรรมได้นี่ก็คือ ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าซึ่งตีพิมพ์วันนี้ ในวารสาร Journal of Criminal Law andCriminology ของมหาวิทยาลัย Northwestern University School of Law ซึ่งเขียนโดยศาสตราจารย์ MichaelRadelet ประธานคณะสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Colorado at BoulderและTracy Lacock ทนายความ ผู้ฃึ่งเคยเป็นนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเดียวกันนี้มาก่อน ศาสตราจารย์ Radelet ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นนําของประเทศ ทางด้านโทษประหาร กล่าวว่า ข้อมูลการค้นคว้าที่ชื่อว่า "Do Executions Lower Homicide Rates? The Views of Leading Criminologists" นั้น ได้ลบความเชื่อโดยสิ้นเชิงว่าโทษประหารนั้นทําให้อาชกรรมลดลง Radelet กล่าวต่อไปว่าข้อมูลนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการที่วงการทั่วไปต่อต้านการยั้บยั้ง
โทษประหารชีวิต เพราะเชื่อว่าจะทําให้อาชญากรรมลดลงนั้น แท้จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด เมื่อได้ถูกสํารวจอย่างจริงจังโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยตรงและข้ออ้างต่างๆเพื่อสนับสนุนโทษประหารนั้น ออกจะอ่อน เมื่อเทียบกับผลลบอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายสูง การตัดสินแบบไม่เป็นธรรม การฆ่าคนบริสุทธิ์และการดึงเอาทุนใช้จ่ายจากมาตรการประสิทธิภาพที่ควรจะได้ช่วยลดอาชญากรรมและช่วยเหลือผู้ถูกกระทํา การศึกษาข้อมูลนี้ กระทําโดยการส่งแบบสอบถามให้กับนักอาชญาวิทยาชั้นนํา ชองประเทศอเมริกา รวมทั้งนักวิจัยแห่งสถาบัน American Society of Criminology และผู้ได้รับรางวัล Southerland Award จากสถาบันเดียวกันนี้ รวมทั้งประธานสถาบันท่านปัจุบันทุกท่าน American Society of Criminology นี้เป็นสถาบันชั้นสูงสุดของนักอาชญาวิทยาทั่วโลก ผู้ตอบแบบสอบถามดังกล่าว 77 ท่าน มิได้ถูกถามตามความเห็นส่วนตัวเลย ว่าคิดอย่างไร
กับโทษประหารแต่ทว่าได้ขอให้ตอบคําถามตามพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงประจักษ์ ที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ Radeletได้พบว่า 87% ของนักอาชญาวิทยาเชื่อว่า การยับยั้งโทษประหารชีวิตนั้น จะไม่มีผลกระทบเลยกับอัตราฆาตกรรมและอีก 75% ของผู้ถูกถาม ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "การถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นโทษประหารนั้นทําให้สภาคองเกรสและผู้ออกกฐหมายของรัฐเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่แท้จริง"
ทั้ง RadeletและLacock เขียนต่อไปว่า ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า นักอาชญาวิทยาชั้นนําของโลกส่วนใหญ่จะเชื่อว่าการวิจัยเชิงประจักษ์ได้แสดงให้เห็นว่าเหตุผลที่ทั่วไปอ้างเพื่อยับยั้งโทษประหารนั้น เป็นความเห็นที่ไม่ได้อยู่ในรากฐานแห่งความเป็นจริง นักอาชญาวิทยาเหล่านี้ได้ออกความเห็นอย่างพร้อมเพรียงกันว่าโทษประหารนั้นมืได้มีผลยับยั้งอาชญากรรมมากไปกว่าการถูกจําคุกระยะยาวเลย การศึกษาข้อมูลนี้ได้รับทุนจาก Sheilah's Fund แห่ง Tides Foundation ของเมือง San Francisco โดยที่ Death Penalty Information Center Washington DC เป็นผู้จัดการให้


According to New CU-Boulder Study

Eighty-eight percent of the country's top criminologists do not believe the death penalty acts as a deterrent to homicide, according to a new study published today in Northwestern University School of Law's Journal of Criminal Law and Criminology authored by Professor Michael Radelet, chair of the sociology department at the University of Colorado at Boulder, and Traci Lacock, an attorney and CU-Boulder graduate student in sociology.

The study titled "Do Executions Lower Homicide Rates? The Views of Leading Criminologists" undermines deterrence as a rationale for maintaining the punishment, said Radelet, one of the nation's leading experts on the death penalty.

"These data show that deterrence, which in many circles is the strongest justification for the death penalty, falls on its face when closely examined by those who are best qualified to study and evaluate it," Radelet said. "Any justifications for the death penalty that might remain pale in comparison to drawbacks such as high costs, arbitrariness, executing the innocent and diverting resources from more effective ways to reduce crime and assist victims."

The study was conducted by sending questionnaires to the most pre-eminent criminologists in the country, including fellows of the American Society of Criminology, winners of the American Society of Criminology's prestigious Southerland Award and recent presidents of the American Society of Criminology. The American Society of Criminology is the top professional organization of criminologists in the world.

The 77 respondents were not asked for their personal opinion about the wisdom of the death penalty, but instead to answer the questions only on the basis of their understandings of the empirical research available on the subject.

Eighty-seven percent of the expert criminologists also believed that abolition of the death penalty would not have any significant effect on murder rates, Radelet said. And 75 percent of the respondents agreed that "debates about the death penalty distract Congress and state legislatures from focusing on real solutions to crime problems."

"Our survey indicates that the vast majority of the world's top criminologists believe that the empirical research has revealed the deterrence hypothesis for a myth," Radelet and Lacock wrote. "The consensus among criminologists is that the death penalty does not add any significant deterrent effect above that of long-term imprisonment."

The study was funded by Sheilah's Fund at the Tides Foundation in San Francisco and was arranged through the Death Penalty Information Center in Washington, D.C.

Tuesday, June 16, 2009

Santi Asoke and the Death Penalty in Thailand


The union for Civil Liberty is currently conducting a series of 20 seminars on the death penalty throughout Thailand. Recently a seminar was held in the main temple of Santi Asoke, a noted Buddhist grouping founded by Phra Bodhirak, previously a well known media figure. Santi Asoke is noted for its interest in the reform of Thai society. The seminar began with an address given by Phra Bodhirak. Santi Asoke is firmly opposed to the death penalty. Strictly vegetarian, they also avoid the killing of any living being.

“พ่อท่าน สมณะ โพธิรักษ์ เป็นผู้เปิดสัมมนาและปาฐกถา ได้แดสงความเห็นว่า “สิทธิมนุษยชนกับโทษประหารชีวิต เราต้องเข้าถึงระบบโลกที่เรียกว่าสมมุติสัจจะ กับระบบธรรมที่เรียกว่าปรมัตถสัจจะถ้าเราไม่เข้าใจสองส่วนนี้อย่างชัดเจนแล้วจะปนกัน แล้วจะบังคับให้คนนั้นมาเป็นอันนี้ คนนี้มาเป้นอันนั้น ยกตัวอย่างง่ายๆ จะให้พระหรือผู้ที่อยู่ในธรรมวินัยนี้แล้วไปประหารชีวิตใครไม่ได้ ปาราชิกเลย มาเป็นสมณะแล้วไม่มีสิทธิจะไปฆ่าใคร นี้คือโลกของปรมัตถ์สัจจะ
ดังนั้น คนที่อยู่ในกรอบนี้ใครจะร้ายแรงอย่างไรไม่มีสิทธิฆ่าเขา เพราะศาสนาเข้าใจถึงเรื่องกรรมวิบาก กรรมวิบากเป็นของตน ใครชั่วใครเลวจะได้รับกรรมวิบากเอง คนไม่ต้องไปซ้ำเติม กรอบนี้ไม่มีสิทธิไปฆ่าใคร จะผิดจะถูกใครจะมีความร้ายแรงขนาดไหน ไม่มีสิทธิไปฆ่าเขา ชีวิตเป็นของเขา ให้เขารับวิบากกรรมของเขาเอง
ทีนี้ในเรื่องของสมมุติสัจจะ ก็มีกรอบของการลงโทษกันเอง เขาก็จะรับผิดชอบกันเองวิทบากที่เขาทำกันเอง นี่เป็นเรื่องของอจินไตย เป็นเรื่องที่ไม่ใช่โทษประหารชีวิตหรอก เขาเองก็ฆ่ากันเอง อาฆาตมาดร้ายฆ่ากันเอง ขนาดมีกฎหมายซ้อนอยู่แล้วด้วยว่า คุณไม่ฆ่าเขากฎหมายเขาก็ฆ่าคุณ เขายังไม่กลัวกันเลย เขายังละเมิด นี้คืออำนาจของเวรภัย อำนาจของวิบาก อำนาจของกิเลส นี้คือโลกของสมมุติสัจจะ เพราะฉะนั้นจะมาตั้งกฎเกณฑ์ว่าไม่มีการประหารชีวิต คนก็ฆ่ากันเองอยู่ดี แต่ไม่เป็นไรหรอกเรื่องสมมุติ การไม่มีประหารชีวิตเป็นปรมัตถสัจจะ ชีวิตของเขาเป็นของเขา เขาจะทำผิดทำชั่วอะไรเป็นเรื่องของเขา ไม่มีสิทธิไปประหารชีวิตเขา เป็นแต่เพียงไล่เขาออกจากหมู่คณะไป
ถ้าจะให้อาตมาออกความเห็นโดยส่วนตัว การที่จะไปละเมิดฆ่าใครก็ไม่สมควรอย่างยิ่ง ใครเขาจะชั่วจะเลวอย่างไร อาตมาเชื่อกรรม เชื่อวิบาก กรรมเป็นของของตน วิบากเป็นของของตน ใครเป็นคนชั่วขนาดไหนเขาเขาจะรับวิบากของเขาเอง จะมีคู่วิบากจัดสรรของมันเอง ไม่ต้องห่วงหรอก ในสังคมมนุษย์มันจะเกิดของมันเอง เพราะฉะนั้นปล่อยเขาไปเถอะ และจะเป็นไปตามวิบาก ถ้าใครเชื่อกรรมเชื่อวิบาก... เพราะฉะนั้นการกำหนดโทษประหารชีวิตอาตมาว่าไม่สมควรกระทำ แต่มีโทษที่ต้องแรงมีข้อกฎเกณฑ์ไม่ให้เขามีโอกาสมาทำชั่วในหมู่กลุ่มนั้นๆ ได้อีก สมัยโบราณเขาเนรเทศไปอยู่เกาะที่คนเลวอยู่ แต่สมัยนี้ไม่มีเกาะให้อยู่แล้ว สูงที่สูดในระดับจองจำตลอดชีวิตก็น่าจะพออันนั้นก็รุนแรงแล้ว
เสริมเรื่องสิทธินิดนึง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องสิทธิไม่ใช่เรื่องตามใจตนเอง การจะใช้สิทธิไม่ใช่เพื่อบำเรอกิเลสตยเอง เพราะมันจะต้องมีกรอบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความสมควร ไม่สมควรของสังคม เรียกว่ามารยาทสังคมก็ได้ หรือคุณธรรมสังคมก็ได้ ส่วนปัญหาที่จะไปประหารชีวิตนั้นเป็นปัญหาปลายเหตุ เพราะคนจะไม่มีความรุนแรง ไม่มีความเลวร้ายถึงปานนั้นถ้าคนมาลดกิเลส ถ้ามาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเรื่องปัญหาของสิทธิ ปัญหาของการลงโทษอะไรพวกนนี้จะเบาลง สังคมจะไม่มีโทษรุนแรงเลย”

Friday, June 12, 2009

The Torture of Waiting for Execution


Victor Hugo in ‘The Last Day of a Condemned Man’ describes with all the passion and clarity of his art ‘the slow succession of tortures which comprise the process of execution.’ In 1829 he outlined the great misrepresentation of the process of execution which is still current today; ‘they think that the execution is only the fall of a blade, nothing before, nothing after. They do not think of the sufferings of the spirit as they vaunt the power of killing with little physical pain’, a pain deemed insignificant because it only lasts half a second.
Talking with a prisoner on death row, a few days ago, I perceived the suffering, indeed the torture, of indecision, of the long wait for either execution or some kind of reprieve. It is a torture which generates bouts of extreme depression and hopelessness, negating any purpose in life, even an indifference to a further stage in the legal process.
For six years now, no one has been executed in Thailand, although death sentences are still handed down at a rate of more than one a week. Prison officials ask the condemned why they worry, no one is actually being executed. But the threat that it may all start again at any moment is an exquisite torture, like the notorious dripping of a water tap which never ceases; already a cruel and inhumane pain.

Wednesday, June 10, 2009

Death Penalty Thailand Statistics - 8th June 2009

All cases, present status

M/F***Appeal Court******Supreme Court******Complete********Total
M***********442***************223**************104*****************769
F************64****************13***************11******************88
Total*******506***************236**************115*****************857


Death Penalty for Drugs

M***********175****************67***************73*****************315
F************53****************12***************10******************75
Total*******228****************79***************83*****************390

Death Penalty for Homicide and related crimes

M***********267***************156***************31*****************454
F************11*****************1****************1******************13
Total*******278***************157***************32*****************467