แถลงการณ์ร่วม
สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล –FIDH
และองค์กรสมาชิกในประเทศไทย
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
ประเทศไทย: ต้องปฏิบัติ
ไม่ใช่แค่พูด เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต
กรุงเทพฯ ปารีส 9 ตุลาคม 2557:
รัฐบาลไทยต้องไม่ใช่แค่พูด แต่ต้องทำตามขั้นตอนอย่างรวดเร็วเพื่อยกเลิกโทษประหาร FIDH
(International Federation for Human Rights) และองค์กรสมาชิกอย่างสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(สสส.) กล่าวหนึ่งวันก่อนวันต่อต้านโทษประหารโลกครั้งที่ 12 (10 ตุลาคม 2557)
ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ในจดหมายถึงประธานสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งจะพิจารณาการสมัครเข้าดำรงตำแหน่งสมาชิกของประเทศไทยในคณะมนตีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สำหรับวาระ 2558-2560 ตัวแทนประเทศไทยสัญญาที่จะ “ศึกษาความเป็นไปได้” ที่จะยกเลิกโทษประหาร[1]
ในแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กำหนดถึงความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกโทษประหารเช่นกัน[2]
“ประเทศไทยจะต้องเร่งเปลี่ยนการแสดงพันธกิจที่จะยกเลิกโทษประหาร
ให้เป็นมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งการให้สัตยาบันรับรองกฎบัตรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
และการบัญญัติกฎหมายในประเทศ ซึ่งจะทำให้การสังหารชีวิตด้วยคำสั่งของรัฐกลายเป็นเรื่องในอดีตไป” คาริม ลาฮิดจี (Karim Lahidji) ประธานของ FIDH กล่าว
การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและสังคมในประเทศเมื่อเร็ว
ๆ นี้ ทำให้เกิดเงื่อนไขที่บั่นทอนความพยายามยกเลิกโทษประหาร
เดิมคาดว่าจะมีการเสนอแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อต้นปีนี้
แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากระบวนการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนใดภายหลังการทำรัฐประหารของทหารเมื่อวันที่
22 พฤษภาคม
นอกจากนั้น แทนที่จะเสนอให้ลดจำนวนฐานความผิดที่มีโทษประหาร
ผู้กำหนดนโยบาย นักการเมืองและนักกิจกรรมกลับหันมาสนับสนุนการออกกฎหมายเพื่อเพิ่มประเภทความผิดที่มีโทษประหารมากขึ้น
ในวันที่ 19 กันยายน มีรายงานข่าวว่า
ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารเสนอร่างพระราชบัญญัติกำหนดโทษประหารสำหรับผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานปิดสนามบิน
หรือสร้างความเสียหายต่ออาคารสถานที่ในสนามบินหรือเครื่องบินในท่าอากาศยาน
กฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาวาระแรกของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ที่แต่งตั้งโดยทหารไปแล้ว
ในวันที่ 14 กรกฎาคม มีรายงานข่าวว่านายบุญจง
วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และสส.พรรคภูมิใจไทย เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันเพื่อกำหนดโทษประหารสำหรับความผิดฐานซื้อเสียง
หลังเหตุการณ์ข่มขืนฆ่าเด็กผู้หญิงอายุ
13 ปีบนขบวนรถไฟที่เข้าสู่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม
นักกิจกรรมและบุคคลสำคัญทางสังคมร่วมกันรณรงค์เรียกร้องให้ลงโทษประหารกับผู้ข่มขืน
“การใช้อารมณ์เพื่อตอบโต้กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรืออาชญากรรมร้ายแรง
เป็นอุปสรรคสำคัญของเส้นทางการยกเลิกโทษประหารในประเทศไทย”
นายแดนทอง บรีน (Danthong Breen) ที่ปรึกษาอาวุโสของสสส.กล่าว
“ผู้กำหนดนโยบายต้องไม่ใช้โทษประหารเป็นทางออก
การแก้แค้นไม่ทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ช่วยในการป้องปราม
และยังส่งเสริมวัฒนธรรมความรุนแรง”
FIDH และสสส.กระตุ้นให้รัฐบาลไทยประกาศข้อตกลงชั่วคราวอย่างเป็นทางการเพื่อยุติการใช้โทษประหาร
และให้ลงนามและให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
Covenant on Civil and Political Rights)
โดยมีเป้าหมายเพื่อยกเลิกโทษประหาร
และให้ออกเสียงยอมรับมติซึ่งเรียกร้องให้มีข้อตกลงชั่วคราวระดับโลกเพื่อยุติการประหารชีวิตในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สมัยที่
69 ในเดือนธันวาคม
จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม มีนักโทษในแดนประหารของไทยอยู่
623 คน (ชาย 572 คนและหญิง 51 คน) 40% ของผู้ชายและ 82% ของผู้หญิงที่ต้องโทษประหาร เกิดจากความผิดด้านยาเสพติด
ประเทศไทยไม่มีการประหารชีวิตบุคคลนับตั้งแต่วันที่
24 สิงหาคม 2552 ซึ่งมีการประหารชีวิตนายบัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และนายจิรวัฒน์
พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี ด้วยการฉีดยา
โดยมีการแจ้งล่วงหน้าเพียงหนึ่งชั่วโมงที่เรือนจำบางขวาง ตอนเหนือของกรุงเทพฯ
ทั้งคู่ถูกศาลตัดสินลงโทษในข้อหาค้ายาเสพติดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2544
FIDH เป็นสมาชิกของพันธมิตรโลกเพื่อต่อต้านโทษประหาร
(World Coalition Against the Death Penalty)
[1] ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
(UNGA) สมัยประชุมที่ 69 วันที่ 22 กรกฎาคม 2557
เป็นถ้อยแถลงของผู้แทนถาวรประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติที่มีต่อประธานสมัชชาใหญ่,
UN Doc. A/69/175
[2] การกล่าวเปิดของพันตำรวจเอก
ดร. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
หัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมสมัชที่ 52 ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน 30
เมษายน 2557
Joint Press Release by International Federation for Human Rights (FIDH) and Union for Civil Liberty (UCL)
Paris,
Bangkok, 9 October 2014: Thailand must go beyond words and take rapid and
tangible steps to abolish the death penalty, FIDH and its member organization
Union for Civil Liberty (UCL) said one day before the 12th World Day Against
the Death Penalty (10 October 2014).
On
22 July 2014, in a letter to the UN General Assembly’s President which
contained Thailand’s candidature for a seat at the UN
Human Rights Council for the 2015-2017 term, Thailand pledged to “study the
possibility” of abolishing capital punishment.[1]
Thailand’s third National Human Rights Plan also mentioned the possibility of
abolishing the death penalty.[2]
“Thailand must quickly turn its tepid commitment to
consider the abolition of the death penalty into concrete action. This includes
the ratification of relevant international instruments and the adoption of
necessary domestic laws that will finally make state-sanctioned killing an
aberration of the past,” said
FIDH President Karim Lahidji.
Recent
political and social developments in the country have created conditions that
risk undermining efforts to abolish capital punishment. The
National Human Rights Plan was expected to be submitted to the Cabinet earlier
this year. However, its status remains unclear following the 22 May military
coup.
In
addition, instead of proposing the reduction of the number of offenses that are
punishable by death, decision-makers, politicians, and activists have recently supported
the introduction of new capital crimes.
On
19 September, it was reported that Thailand’s military junta, the National
Council for Peace and Order (NCPO), proposed a bill that prescribed the death
penalty for those found guilty of causing the closure of an airport or damaging
airport facilities or aircraft at an airport. The proposed legislation has
already passed its first reading in the junta-backed National Legislative
Assembly (NLA).
On
14 July, it was reported that former Home Affairs Deputy Minister and Phum Jai
Thai Party MP Boonchong Wongtrasirat proposed the amendment of existing laws in
order to make the buying and selling of votes and offence that is punishable by
death.
Following
the rape and murder of a 13-year-old girl on a Bangkok-train on 6 July, activists
and key public figures launched a campaign that called for the death penalty for
convicted rapists.
“Emotional responses to political developments or
horrendous crimes are major setbacks on the path to the abolition of death
penalty in Thailand,”
said UCL Senior Advisor Danthong Breen. “Decision-makers must reject
capital punishment as a solution. Vengeance achieves nothing, fails as a
deterrent, and exacerbates the culture of violence.”
FIDH
and UCL urge Thailand to announce an official moratorium on capital punishment,
to sign and ratify the Second Optional Protocol to the International Covenant
on Civil and Political Rights aiming at the abolition of the death penalty, and
to vote in favor of a resolution calling for a worldwide moratorium on
executions at the 69th session of the UN General Assembly (UNGA) in December.
As
of 31 August, there were 623 prisoners (572 men and 51 women) under death
sentence in Thailand. Forty percent of the men and 82% percent of the women
were sentenced to death for drug-related offenses.
Thailand
has not executed anyone since 24 August 2009, when two men, Bundit Jaroenwanit,
45, and Jirawat Poompreuk, 52, were put to death by lethal injection with just
one-hour notice at Bang Khwang Prison, located just north of Bangkok. The two
had been convicted of drug trafficking on 29 March 2001.
FIDH is a member of the World Coalition Against the
Death Penalty.
[1] UNGA, 69th session, Letter dated 22
July 2014 from the Permanent Representative of Thailand to the United Nations
addressed to the President of the General Assembly, UN Doc. A/69/175
[2] Opening Statement by Pol. Col. Naras
Savestanan, Director General, Department of Rights and Liberties Protection,
Ministry of Justice, Head of Thai Delegation 52nd session of the Committee
Against Torture, 30 April 2014
No comments:
Post a Comment