Saturday, October 31, 2009

Open Letter to Prime Minister


On 10th October, World Day for Abolition of the Death Penalty, five human rights organizations submitted the following letter to the Prime Minister:

จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

10 ตุลาคม 2552

เรื่อง การคัดค้านโทษประหารชีวิต

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ในนามขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยนำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีความพยายามที่จะละเว้นโทษประหารนี้ไปตั้งแต่ปี 2546 แต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา นายบัณฑิต เจริญวานิชและนายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ ผู้ต้องโทษที่รอการประหารกลับถูกประหารชีวิตโดยไม่มีการบอกกล่าวแก่ตัวผู้ต้องขังและครอบครัวให้ทราบล่วงหน้า

ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน เราขอประณามการกระทำของรัฐบาลในการกระทำดังกล่าว ซึ่ง ในช่วงระยะเวลาหกปีที่สังคมไทยได้มีความพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับการใช้โทษประหารชีวิต และขอคัดค้านการใช้โทษประหารชีวิต เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ปัจจุบันนานาอารยประเทศมีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นว่าสิทธิในการมีชีวิตอยู่เป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานขั้นต่ำสุด ซึ่งที่ผ่านมาประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก (ปัจจุบัน134ประเทศ)ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว โดยยึดถือหลักการที่ว่า ไม่มีผู้ใดสามารถทำลายชีวิตของใครได้ หรือ ไม่มีผู้ใดมีอำนาจที่จะทำลายชีวิตของผู้ใดได้

เราจึงขอถามท่านว่าเหตุใดประเทศไทยจึงยังคงประหารชีวิตประชาชนของตนเอง การที่รัฐบาลของท่านเคยแสดงเจตจำนงที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนอันเป็นหลักประกันหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยแต่เหตุใดในทางปฏิบัติกลับตรงกันข้ามกับเจตจำนงดังกล่าว เหตุใดหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาซึ่งหล่อหลอมวัฒนธรรมไทยไม่ได้นำไปสู่การเคารพชีวิตทุกชีวิตและไม่นำมาสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตได้เลย ความจริงความเข้าใจของศาสนาพุทธไม่ต่างจากศาสนาอิสลามซึ่งพระอัลเลาะห์ผู้สง่างามและมีเมตตากรุณา ได้แสดงเจตนาในหลักการที่สอดคล้องกันกับพุทธ คือหากสามารถที่จะให้อภัยผู้กระทำผิดและสร้างความปรองดองกันได้ ก็ควรจะทำ(อัลกุรอาน 42: 40-43)

ความปรารถนาให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตของผู้คนทั่วโลกปรากฏเป็นที่ประจักษ์จากผลการลงมติในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2550 และอีกครั้งในปี 2551 โดยมีมติให้ทุกประเทศทั่วโลกงดเว้นโทษประหารชีวิตเพื่อเป็นหนทางนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด ถึงแม้มติดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อบังคับแต่กลับส่งผลเชิงศีลธรรมอย่างมหาศาล (มติที่ 620149 ว่าด้วยการยกเลิกโทษประหารชีวิต)

2. การประหารชีวิตผู้ต้องขังคดียาเสพติดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาส่งผลต่อเนื่องกับผู้ต้องหาคดียาเสพติดรายอื่นๆ ตามรายงานกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของสหประชาชาติระบุว่า ความผิดข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติดไม่ถือเป็นความผิดให้ต้องโทษประหารชีวิต รัฐบาลไทยในฐานะภาคีของกติกาดังกล่าวไม่สามารถเพิกเฉยได้ เนื่องจากคำสั่งให้ประหารชีวิตผู้ต้องขังทั้งสองรายนี้จำเป็นต้องผ่านกระทรวงยุติธรรม และปลัดกระทรวงยุติธรรมคนปัจจุบันได้เข้าร่วมในที่ประชุมรายงานดังกล่าว ณ กรุงเจนีวาด้วย (CCPR/CO/84/THA)

3. การประหารชีวิตผู้ต้องขังทั้งสองรายโดยแจ้งให้ทราบเพียงหนึ่งชั่วโมงล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจและไร้มนุษยธรรมอย่างสิ้นเชิง ผู้ต้องขังถูกปฏิเสธที่จะมีโอกาสเตรียมตัวก่อนถูกประหาร มิได้พบครอบครัวและญาติพี่น้อง ทำธุระส่วนตัวและอบรมสั่งเสียบุตร ความไร้มนุษยธรรมยังขยายไปถึงครอบครัวที่ไม่มีโอกาสได้พบหน้าและเอ่ยคำร่ำลาเป็นครั้งสุดท้าย

4. ความอยุติธรรมดังกล่าวยังส่งผลถึงผู้ต้องขังรายอื่นๆ ที่ต้องอยู่อย่างหวาดผวานับจากนี้ไป โดยที่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าชั่วโมงสุดท้ายของชีวิตจะมาถึงเมื่อใด

5. นอกจากนั้นคำสั่งประหารชีวิตที่ไม่โปร่งใส จากเบาะแสข่าวว่า เป็นเพราะผู้ต้องขังทั้งสอยังคงพัวพันกับการค้ายาเสพติดขณะอยู่ในเรือนจำ หาก เบาะแสดังกล่าวมีมูลความเป็นจริง พวกเขาควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อให้มีการพิสูจน์ความผิดต่อไป ทั้งนี้ผู้ต้องขังที่ต้องโทษประหารชีวิตทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาว่ากระทำผิดจริง และไม่มีใครสามารถถูกทำให้จบชีวิตได้โดยเหตุจากเบาะแสที่ไม่มีข้อพิสูจน์ได้

กล่าวโดยสรุป การประหารชีวิตนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงที่สุดที่ไม่สมควรเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในสังคมใดๆ และพวกเราในฐานะองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนร้องขอให้ประเทศไทยได้ไตร่ตรองถึงพันธะสัญญาแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนที่พัฒนามาอย่างยาวนาน และการประกาศจุดยืนร่วมกับนานาอารยะประเทศ ในการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ว่าโทษประหารชีวิตเป็นมาตรการอันป่าเถื่อน ถือเป็นการกระทำฆาตกรรม ที่ระบบยุติธรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วโดยทั่วไป มิอาจสามารถยอมรับได้


ลงชื่อ ประธานกรรมการ
(ดร. แดนทอง บรีน)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

ลงชื่อ เลขาธิการ
( นายเมธา มาสขาว )
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)

ลงชื่อ ผู้อำนวยการ
(นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์)
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม

ลงชื่อ ประธานมูลนิธิ
( นายสมชาย หอมลออ )
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ลงชื่อ ผู้อำนวยการ
(นางสาวจันทร์จิรา จันทร์แผ่ว )
เครือข่ายนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน


ลงชื่อ ประธาน
(นายโคทม อารียา)
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

(English translation)
Open letter to the Prime Minister

We, representatives of non-governmental organizations dedicated to the protection of human rights of the Thai people, are deeply saddened by the action of your Government in resuming executions after a six year hiatus. In December 2003 four persons were executed, after which a six year de facto moratorium on executions occurred. This period came to a sudden, unannounced, unexplained, and brutal end on 24th August last with the execution of Bundit Jaroenwanit and Jirawat Poompreuk.

We submit to your Government that in the last six years a large change in perspective regarding the death penalty has taken place, illustrating ever more clearly the contravention of human rights involved in resuming executions:
1. A realization that the Right to Life is the most basic of all human rights has grown stronger. The great majority of countries in the world (to date 134 countries) have ceased to apply Capital Punishment, convinced that human life is indeed inviolable.
We question why Thailand is continuing to put to death its own citizens. Do not the claimed respect for human rights of a democratically elected government recommend an opposite course of action? Does not the largely Buddhist ethic which inspires Thai culture not lead to a respect for all living things which would favour abolition? Indeed, such a Buddhist understanding finds resonance in the Muslim emphasis on the favour shown by Allah, most Gracious and Merciful, on those who forgive a mortal injury and make reconciliation (Koran 42: 40-43).
The wish of the nations of the world is revealed in the majority vote of the United Nations General Assembly on 8th December 2007, and repeated in 2008, recommending that all nations of the world progress to abolition of the death penalty, meanwhile observing a Moratorium on its application. While not mandatory, the measure has immense moral significance. (Moratorium on the Use of the Death Penalty, Resolution 620149)
2. The executions of 24th August concerned persons condemned on drug charges. It was clearly pointed out to representatives of the Royal Thai Government on the occasion of the first report on compliance with the Covenant on Social and Political Rights that drug offences do not constitute crimes subject to the death penalty. The order to execute two prisoners for drug offenses must have passed through the Ministry of Justice. The Ministry cannot be ignorant of the fact that such a sanction cannot be justified in international law as a current Deputy Permanent Secretary of the Ministry was present in Geneva during the submission. (CCPR/CO/84/THA)
3. The execution of the condemned prisoners with a one hour notice is a totally repugnant and inhumane act. The condemned were denied the opportunity to prepare for death, to take leave of their families and relatives, to arrange their affairs and instruct their children. The inhumanity extends to their families, who could not meet one last time with their family member, to hear their last wishes, and the disposal of their affairs.
4. Consider too the injustice done to other prisoners who must now live with the terror that every hour may be their final hour of life.
5. In the absence of transparency regarding the order to execute, rumour is rampant that the executed had again offended by drug dealing within the prison, thus justifying their execution. If there is truth in this accusation they should have been subject to further legal procedure; even in death, persons have a right to the presumption of innocence and not to be executed by appeal to rumour.

In conclusion, the executions are an outrage against human rights, which must not be repeated. Let Thailand read the signs of the times and take a stand with the majority of the nations of the world, renouncing for ever the barbarous and unnecessary practice of judicial murder, which masquerades as legalized Capital Punishment.



Signed on behalf of: by
Union for Civil Liberty Danthong Breen, Chairman


1. Campaign Committee for Human Rights (CCHR)
2. Peace and Human Rights Resource Center (PHRC)
3. Cross Cultural Foundation (CrCF)
4. Union for Civil Liberty (UCL)
5. Human Rights Lawyers Association

A reply from the Prime Minister's Office is shown above. It acknowledges receipt of the letter and states that it has been passed on to the Ministry of Justice for consideration

No comments: