สารจากองค์ดาไลลามะ
เพื่อสนับสนุนการยุติโทษประหารชีวิต
เมื่อกล่าวถึง ‘ความตาย’ ความตายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ ไม่อยากแม้แต่จะต้องคิดถึง ความตายที่มาถึงตามกาลแห่งธรรมชาตินั้น เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุมบังคับของคนเรา แต่ความตายที่ถูกมอบให้อย่างจงใจต่อผู้หนึ่งผู้ใด จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม นับเป็นเรื่องที่เลวร้าย ในระบบกฏหมายของหลายๆ ประเทศในสมัยปัจจุบัน ยังมีโทษประหารชีวิตอยู่ด้วยเหตุผลนานา เป็นต้นว่า เป็นโทษอันสมควรแก่ผู้ละเมิดต่อกฎเกณฑ์ที่ตราไว้อย่างชัดเจนของสังคมนั้นๆ เพื่อจะได้ป้องกันมิให้ผู้ละเมิดกฎเหล่านั้นกระทำผิดซ้ำอีก ตลอดจนเพื่อเป็นการห้ามปรามคนอื่นๆ ไม่ให้ปฏิบัติตามอย่างด้วย แต่หากเราลองสำรวจตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียดและเป็นธรรม เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การลงโทษประหารชีวิตนี้ มิใช่ทางออกที่ถูกต้องในการปรามบุคคลไม่ให้ทำผิดซ้ำ ทั้งไม่ใช่การป้องปรามคนอื่นมิให้กระทำผิดอย่างเดียวกันที่มีประสิทธิผลด้วย
การทำร้ายบุคคลอื่นจนเป็นผลให้เกิดความสูญเสียที่น่าเศร้าขึ้นนั้น เป็นผลมาจากภาวะทางอารมณ์ที่ถูกรบกวนจนผิดปกติ และการมีความคิดต่อสังคมในแง่ลบ ซึ่งภาวะเช่นนี้มีแฝงอยู่ในตัวคนทุกคน ต่างแต่เพียงว่าใครจะก้าวไปถึงจุดที่กระทำอันตรายต่อผู้อื่นหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น เราจึงไม่สามารถจะเอาชนะภาวะอารมณ์อันผิดปกติในตัวของมนุษย์นี้ได้ ด้วยการประหัตประหารคนอื่น
สิ่งที่ถูกถือว่าเป็น ‘อาชญากรรม’ นั้น อาจแตกต่างเป็นดำกับขาวได้ ระหว่างสังคมหนึ่งกับอีกสังคมหนึ่ง เป็นด้นว่า การเรียกร้องสิทธิมนุษยชนนั้น ในสังคมหนึ่งจะถูกตราว่าเป็นอาชญากรรม ขณะที่ในอีกสังคมหนึ่ง การปิดกั้นการแสดงออกอย่างเสรีของประชาชนต่างหาก ที่ถือว่าเป็นอาชญากรรม ทั้งการลงโทษต่ออาชญากรรมทั้งหลายก็มีความแตกต่างห่างไกลกันจากสังคมหนึ่งสู่อีกสังคมหนึ่ง นับแต่การจองจำ การบังคับให้มีความเป็นอยู่อย่างบากลำบาก การปรับเงิน และในบางสังคม ก็ยังมีการทรมานให้ความเจ็บปวดต่อร่างกายอยู่ ขณะที่ในบางสังคม ผู้ปกครองลงโทษผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงด้วยโทษประหารชีวิต การประหารชีวิตอาจช่วยห้ามปรามคนอื่นมิให้ทำตามได้บ้าง แต่ก็นับเป็นการแก้แค้นต่อผู้กระทำผิดอย่างชัดแจ้งด้วย นับเป็นการลงโทษที่รุนแรงอย่างเหลือคณา ผู้ถูกตัดสินต้องสิ้นชีวิตไปโดยไม่ได้รับโอกาสให้ปรับปรุงตัวเอง ไม่มีโอกาสแก้ไขทบทวนถึงอันตรายที่เขาได้ก่อขึ้น ทั้งไม่มีโอกาสที่จะชดใช้ความผิดนั้นอีก ก่อนที่จะตัดสินลงโทษประหารชีวิตแก่ใคร เราควรไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนเสียก่อนว่า ผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็นอาชญากรนั้น เป็นคนมีอันตรายในเนื้อแท้จริงหรือ และเขาจะเป็นอันตรายต่อสังคมอยู่เช่นนั้นตลอดชั่วชีวิตเขากระนั้นหรือ ข้าพเจ้าเชื่อว่า คำตอบที่ท่านได้เมื่อได้ใคร่ครวญอย่างเป็นธรรมแล้ว ย่อมต้องบอกว่า ‘ไม่จริง’ และ ‘ไม่ใช่’ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าบุคคลใดก็ตาม แม้จะได้กระทำสิ่งที่เลวร้ายและเป็นอันตรายยิ่งต่อผู้อื่นมาแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่เขาผู้นั้นจะสามารถปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ทุกสังคมสามารถจะหามาตรการหยุดยั้งการก่ออาชญากรรมและปกป้องอันตรายจากความสูญเสียไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องใช้โทษประหารชีวิตแต่อย่างใด
ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า ผู้เป็นอาชญากรนั้นสามารถปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจยอมรับการมีโทษประหารชีวิตได้ และข้าพเจ้าขอให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลังแก่องค์กรหรือคณะบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่เพียรพยายามหาวิธีการต่างๆ เพื่อหยุดยั้งการมีโทษประหารชีวิต
ในโลกทุกวันนี้ มีประชาชาติและสังคมมากมายหลายแห่งเหลือเกินที่ให้ความสำคัญต่อการให้การศึกษา และการพัฒนาคุณค่าแห่งมนุษย์น้อยมาก ดูจากการสร้างกิจกรรมทางสังคมและสื่อบันเทิง ตัวอย่างแค่โทรทัศน์เพียงอย่างเดียว จอโทรทัศน์ของเกือบทุกสังคมในโลกวันนี้ เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งความรุนแรง รวมถึงการฆ่าฟันเอาชีวิต รายการประเภทนี้ ได้รับการจัดอันดับว่า มีคุณค่าในการสร้างความบันเทิงใจแก่ผู้ชมอย่างสูง เพียงเรื่องนี้เรื่องเดียว ก็ชี้ได้อย่างชัดเจนแล้วว่า พวกเราทุกวันนี้เดินมาผิดทิศผิดทางกันมากเพียงใด
ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ดุร้าย ไม่ใช่เสือสางหรือสิงห์ร้าย ธรรมชาติไม่ได้ให้กรงเล็บที่แหลมคมแก่พวกเราเพื่อตะปบ กัด และขบเคี้ยวเหยื่อ ด้วยความทัศนะแห่งศาสนาพุทธ ข้าพเจ้าเชื่อว่า ธรรมชาติขั้นพื้นฐานของสัตว์รู้คิดในระดับของมนุษย์อย่างเราๆ นั้น เป็นความบริสุทธิ์ เรามีธรรมชาติของจิตใจในส่วนลึกที่บริสุทธิ์และสะอาด แต่มนุษย์กลับกลายเป็นผู้สร้างความรุนแรงขึ้นได้เมื่อมีความคิดอ่านในด้านลบเกิดขึ้น อันเป็นผลจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย
ข้าพเจ้าขอให้ความสนับสนุนอย่างสูงสุดต่อการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ที่ยังมีโทษประหารชีวิตอยู่ได้โปรดตอบรับต่อกระแสเรียกร้องให้ยุติโทษประหารชีวิตโดยไม่มีเงื่อนไข พร้อมกันนี้ พวกเราก็ควรให้ความสนับสนุนการศึกษาและส่งเสริมให้เกิด
จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบสากลให้สูงขึ้น พวกเราควรหมั่นอภิปรายชี้ความสำคัญแห่งการให้ความรักและความเมตตาแก่กันและกัน เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ชาติเอง และพยายามขจัดสภาวะเงื่อนไขที่อำนวยให้เกิดการพิฆาตเข่นฆ่ากันขึ้น เป็นต้นว่า การต่อต้านความแพร่หลายหาซื้อง่ายของอาวุธยุทโธปกรณ์ในสังคมของพวกเรา อันเป็นเรื่องที่ทุกๆ คนสามารถจะช่วยกันทำ คนละไม้คนละมือได้เสมอ
.....................................................................
His Holiness, Tenzin Gyatso, The Fourteenth Dalai Lama
MESSAGE SUPPORTING THE MORATORIUM
ON THE DEATH PENALTY
In general, death is something none of us wants, in fact it is something we don't even like to think about. When death takes place naturally, it is a process beyond our control to stop, but where death is willfully and deliberately brought about, it is very unfortunate. Of course, within our legal systems there are said to be certain reasons and purposes for employing the death penalty. It is used to punish offenders, to prevent them ever repeating their misdeed and to deter others. However, if we examine the situation more carefully, we will find that these are not the real solutions.
Harmful actions and their tragic consequences all have their origin in disturbing emotions and negative thoughts, and these are a state of mind, whose potential we find within all human beings. From this point of view, every one of us has the potential to commit crimes, because we are all subject to negative disturbing emotions and negative mental qualities. And we will not overcome these by executing other people.
What is deemed criminal can vary greatly from country to country. In some countries, for example, speaking out for human rights is considered criminal, whereas in other countries preventing free speech is a crime. The punishments for crimes are also very different, but usually include various forms of imprisonment or hardship, financial penalties and, in a number of countries, physical pain. In some countries, crimes that the government considers very serious are punished by executing the person who committed the crime.
The death penalty fulfills a preventive function, but it is also very clearly a form of revenge. It is an especially severe form of punishment because it is so final. The human life is ended and the executed person is deprived of the opportunity to change, to restore the harm done or compensate for it. Before advocating execution we should consider whether criminals are intrinsically negative and harmful people or whether they will remain perpetually in the same state of mind in which they committed their crime or not. The answer, I believe, is definitely not. However horrible the act they have committed, I believe that everyone has the potential to improve and correct themselves. Therefore, I am optimistic that it remains possible to deter criminal activity, and prevent such harmful consequences of such acts in society, without having to resort to the death penalty.
My overriding belief is that it is always possible for criminals to improve and that by its very finality the death penalty contradicts this. Therefore, I support those organizations and individuals who are trying to bring an end to the use of the death penalty.
Today, in many societies very little importance is placed on education or the development of human values through social programs and entertainment. In fact, if we take television programming as an example, violence, including killing, is regarded as having a high entertainment value. This is indicative of how misguided we have become.
I believe human beings are not violent by nature. Unlike lions and tigers, we are not naturally equipped to kill with sharp teeth and claws. From a Buddhist viewpoint, I believe that the basic nature of every sentient being is pure, that the deeper nature of mind is something pure. Human beings become violent because of negative thoughts which arise as a result of their environment and circumstances.
I wholeheartedly support an appeal to those countries who at present employ the death penalty to observe an unconditional moratorium. At the same time we should give more support to education and encourage a greater sense of universal responsibility. We need to explain the importance of the practice of love and compassion for our own survival and to try to minimize those conditions which foster murderous tendencies, such as the proliferation of weapons in our societies. These are things even private individuals can work towards.
Tenzin Gyatso
No comments:
Post a Comment