เรากำลังรณรงค์การยุติโทษประหารในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังคงใช้วิธีการลงโทษที่ป่าเถื่อนเช่นนี้อยู่
Tuesday, June 16, 2009
Santi Asoke and the Death Penalty in Thailand
The union for Civil Liberty is currently conducting a series of 20 seminars on the death penalty throughout Thailand. Recently a seminar was held in the main temple of Santi Asoke, a noted Buddhist grouping founded by Phra Bodhirak, previously a well known media figure. Santi Asoke is noted for its interest in the reform of Thai society. The seminar began with an address given by Phra Bodhirak. Santi Asoke is firmly opposed to the death penalty. Strictly vegetarian, they also avoid the killing of any living being.
“พ่อท่าน สมณะ โพธิรักษ์ เป็นผู้เปิดสัมมนาและปาฐกถา ได้แดสงความเห็นว่า “สิทธิมนุษยชนกับโทษประหารชีวิต เราต้องเข้าถึงระบบโลกที่เรียกว่าสมมุติสัจจะ กับระบบธรรมที่เรียกว่าปรมัตถสัจจะถ้าเราไม่เข้าใจสองส่วนนี้อย่างชัดเจนแล้วจะปนกัน แล้วจะบังคับให้คนนั้นมาเป็นอันนี้ คนนี้มาเป้นอันนั้น ยกตัวอย่างง่ายๆ จะให้พระหรือผู้ที่อยู่ในธรรมวินัยนี้แล้วไปประหารชีวิตใครไม่ได้ ปาราชิกเลย มาเป็นสมณะแล้วไม่มีสิทธิจะไปฆ่าใคร นี้คือโลกของปรมัตถ์สัจจะ
ดังนั้น คนที่อยู่ในกรอบนี้ใครจะร้ายแรงอย่างไรไม่มีสิทธิฆ่าเขา เพราะศาสนาเข้าใจถึงเรื่องกรรมวิบาก กรรมวิบากเป็นของตน ใครชั่วใครเลวจะได้รับกรรมวิบากเอง คนไม่ต้องไปซ้ำเติม กรอบนี้ไม่มีสิทธิไปฆ่าใคร จะผิดจะถูกใครจะมีความร้ายแรงขนาดไหน ไม่มีสิทธิไปฆ่าเขา ชีวิตเป็นของเขา ให้เขารับวิบากกรรมของเขาเอง
ทีนี้ในเรื่องของสมมุติสัจจะ ก็มีกรอบของการลงโทษกันเอง เขาก็จะรับผิดชอบกันเองวิทบากที่เขาทำกันเอง นี่เป็นเรื่องของอจินไตย เป็นเรื่องที่ไม่ใช่โทษประหารชีวิตหรอก เขาเองก็ฆ่ากันเอง อาฆาตมาดร้ายฆ่ากันเอง ขนาดมีกฎหมายซ้อนอยู่แล้วด้วยว่า คุณไม่ฆ่าเขากฎหมายเขาก็ฆ่าคุณ เขายังไม่กลัวกันเลย เขายังละเมิด นี้คืออำนาจของเวรภัย อำนาจของวิบาก อำนาจของกิเลส นี้คือโลกของสมมุติสัจจะ เพราะฉะนั้นจะมาตั้งกฎเกณฑ์ว่าไม่มีการประหารชีวิต คนก็ฆ่ากันเองอยู่ดี แต่ไม่เป็นไรหรอกเรื่องสมมุติ การไม่มีประหารชีวิตเป็นปรมัตถสัจจะ ชีวิตของเขาเป็นของเขา เขาจะทำผิดทำชั่วอะไรเป็นเรื่องของเขา ไม่มีสิทธิไปประหารชีวิตเขา เป็นแต่เพียงไล่เขาออกจากหมู่คณะไป
ถ้าจะให้อาตมาออกความเห็นโดยส่วนตัว การที่จะไปละเมิดฆ่าใครก็ไม่สมควรอย่างยิ่ง ใครเขาจะชั่วจะเลวอย่างไร อาตมาเชื่อกรรม เชื่อวิบาก กรรมเป็นของของตน วิบากเป็นของของตน ใครเป็นคนชั่วขนาดไหนเขาเขาจะรับวิบากของเขาเอง จะมีคู่วิบากจัดสรรของมันเอง ไม่ต้องห่วงหรอก ในสังคมมนุษย์มันจะเกิดของมันเอง เพราะฉะนั้นปล่อยเขาไปเถอะ และจะเป็นไปตามวิบาก ถ้าใครเชื่อกรรมเชื่อวิบาก... เพราะฉะนั้นการกำหนดโทษประหารชีวิตอาตมาว่าไม่สมควรกระทำ แต่มีโทษที่ต้องแรงมีข้อกฎเกณฑ์ไม่ให้เขามีโอกาสมาทำชั่วในหมู่กลุ่มนั้นๆ ได้อีก สมัยโบราณเขาเนรเทศไปอยู่เกาะที่คนเลวอยู่ แต่สมัยนี้ไม่มีเกาะให้อยู่แล้ว สูงที่สูดในระดับจองจำตลอดชีวิตก็น่าจะพออันนั้นก็รุนแรงแล้ว
เสริมเรื่องสิทธินิดนึง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องสิทธิไม่ใช่เรื่องตามใจตนเอง การจะใช้สิทธิไม่ใช่เพื่อบำเรอกิเลสตยเอง เพราะมันจะต้องมีกรอบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความสมควร ไม่สมควรของสังคม เรียกว่ามารยาทสังคมก็ได้ หรือคุณธรรมสังคมก็ได้ ส่วนปัญหาที่จะไปประหารชีวิตนั้นเป็นปัญหาปลายเหตุ เพราะคนจะไม่มีความรุนแรง ไม่มีความเลวร้ายถึงปานนั้นถ้าคนมาลดกิเลส ถ้ามาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเรื่องปัญหาของสิทธิ ปัญหาของการลงโทษอะไรพวกนนี้จะเบาลง สังคมจะไม่มีโทษรุนแรงเลย”
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment